ในช่วงวัยแรกเกิดถึง6เดือน ส่วนใหญ่ลูกจะทานแต่นมเป็นหลัก เรามาดูกันว่าพัฒนาการด้านการดูดกลืนของลูกในช่วงวัยนี้เป็นอย่างไรกันบ้าง
- แรกเกิด : ในช่วง2สัปดาห์แรกหลังคลอด ลักษณะการดูดกลืนของทารกจะใช้การม้วนลิ้นรอบๆหัวนมร่วมกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อกระพุ้งแก้มช่วยเพื่อให้มีแรงดูดในช่องปากเพิ่มมากขึ้น แต่หลังจาก2สัปดาห์แรก รูปแบบการดูดกลืนจะเป็นการใช้ลิ้นออกมาเลียและดึงกลับเข้าช่องปาก ส่วนการกลืนจะเกิดขึ้นพร้อมกับการดูด
- 1-2เดือน: ลักษณะการดูดจะใช้ลิ้นเลียเคลื่อนไหวแบบยื่นเข้าและออกในช่องปาก ไม่มีการม้วนลิ้นรอบหัวนม สามารถดูดติดต่อกันได้2-3ครั้งแล้วหยุดพักเพื่อหายใจและกลืน
- 3เดือน: การดูดกลืนยังเป็นเช่นเดียวกับช่วงอายุ1-2เดือน แต่สามารถดูดได้นานขึ้นแล้วจึงหยุดพักกลืนและหายใจ ในช่วงวัยนี้พบการไอและสำลักได้บ่อย
- 4เดือน: การดูดกลืนเริ่มเป็นแบบแผนที่ถูกต้องคือมีการม้วนลิ้นรอบๆหัวนมแทนการเลีย สามารถดูดติดต่อกันได้นานขึ้นแล้วจึงกลืน
- 5เดือน: การดูดกลืนเป็นแบบแผนการดูดที่ถูกต้องคือมีการม้วนลิ้นรอบๆหัวนมร่วมกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อกระพุ้งแก้มช่วยเพื่อให้มีแรงดูดในช่องปากเพิ่มมากขึ้น การดูดกลืนและการหายใจเริ่มประสานสัมพันธ์กันได้ดีขึ้น การไอสำลักน้อยลง
- 6เดือน: การดูดเป็นแบบเดียวกับในวัย5เดือน ขณะดูดจะไม่มีการหกเลอะเทอะ แต่ในช่วงกลืนอาจจะมีนมไหลออกมาจากปากบ้าง การดูดกลืนทำติดต่อกันโดยไม่มีการพักขณะกลืน พบการสำลักได้บ้าง
จะเห็นได้ว่าลูกจะมีพัฒนาการด้านการดูดกลืนที่ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้จะต่อยอดไปในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้ลูกทานอาหารได้หลากหลายขึ้น
25 thoughts on “พัฒนาการด้านการดูดกลืนในเด็ก(แรกเกิด-6เดือน)”
1'"
555
1'||DBMS_PIPE.RECEIVE_MESSAGE(CHR(98)||CHR(98)||CHR(98),15)||'
555
1*DBMS_PIPE.RECEIVE_MESSAGE(CHR(99)||CHR(99)||CHR(99),15)
555
1GhKsNElc')) OR 857=(SELECT 857 FROM PG_SLEEP(15))--
555
1ZJFdX0S9') OR 638=(SELECT 638 FROM PG_SLEEP(15))--
555